ว่าด้วยกฎหมายการ รัดเข็มขัดนิรภัย โดยเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจาก 120 วัน นับจากวันที่ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา หรือตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565 โดยมีใจความสำคัญดังต่อไปนี้
1. ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วย “รัดเข็มขัดนิรภัย” ไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์
2. คนโดยสาร
(ก) คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์
(ข) คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
(ค) คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด
อย่างไรก็ตามสำหรับกฎหมายที่ระบุว่าผู้ที่นั่งเบาะหลังต้อง “รัดเข็มขัดนิรภัย” คือ มาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น จะต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่โดยสารรถยนต์ เว้นแต่มีเหตุผลด้านสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
รถยนต์เก่าไม่มีเข็มขัดนิรภัย มีข้อยกเว้น
รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2531 ที่ไม่สามารถติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ หากจดทะเบียนก่อนวันดังกล่าว ไม่ถือมีความผิด รวมถึงรถกระบะที่มีการจดทะเบียนก่อนปี 2537 จะยังไม่มีผลบังคับใช้ ส่วนรถกระบะที่ไม่มีเข็มขัดนิรภัย ก็ต้องมีข้อกำหนดพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่ง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
ตัดแต้มใบขับขี่ คะแนนความประพฤติในการขับรถ
ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย รถที่ใช้เพื่อการขนส่ง รถลากจูง บ.3 ท.3