ยางรถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่โดยตรง มีผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่สูงมากเพราะฉะนั้นเจ้าของรถทุกคนอย่าละเลยที่จะตรวจสอบยางรถยนต์ วันนี้เราจะมาพูดถึงอาการ “ยางบวม” เชื่อว่าหลายคนรู้ว่าอันตราย แต่จะอันตรายแค่ไหน เพราะอะไรยางถึงบวม และสาเหตุที่ทำให้เกิดยางบวมกันครับ
รู้จักกับยางรถยนต์ ผลิตมาจากวัตถุดิบหลัก ๆ 6 ชนิด คือ
- ยางธรรมชาติ จะให้ความทนทาน
- ยางสังเคราะห์ ให้ความนุ่มนวล
- สารที่เอาไว้เพิ่มความแข็งแรงให้กับยางคือ คาร์บอนแบล็ก จะทำให้ยางมีสีดำ และซิลิก้ามีคุณสมบัติช่วยในการประหยัดน้ำมันและช่วยเกาะถนนบนพื้นเปียก
- เส้นใยที่เป็นโครงสร้างยาง ซึ่งเป็นตัวรับแรงดึงที่เกิดจากแรงดันลมยาง
- เส้นลวดที่ถูกเคลือบด้วยยาง ลวดตัวนี้จะให้ความแข็งแรงที่หน้ายาง
- สารเคมีอื่น ๆ เช่น กำมะถัน น้ำมันต่าง ๆ ทำหน้าที่หลอมให้ยางและโครงสร้างทั้งหมดเป็นชิ้นเดียวกัน
ยางบวมเกิดจากอะไร?
มีแรงกระแทกต่อยางอย่างรุนแรง เช่นขึ้น ลูกระนาดอย่างเร็ว, ตกหลุมถนนด้วยความเร็ว หรือยางกระแทกที่ขอบทาง ทำให้โครงสร้างภายในผ้าใบและเส้นใยฉีกขาด ส่วนใหญ่จะเกิดที่แก้มยางที่มี เหลือเพียงชั้นยางที่ยืดหยุนสูงหุ้มด้านนอก เจอแรงดันภายในจะโป่งออกมาเป็นอาการบวม
หากยังให้รถวิ่งต่อ ความร้อนในล้อจะมากขึ้น เพิ่มแรงดันและอาจดันจุดที่บวมให้แตกระเบิดได้
ยางบวมเล็ก ๆ ยังพอซ่อมได้
ทางมิชลินได้แนะนำว่ายางที่มีอาการบวมไม่ถึง 1/4 นิ้วหรือราว ๆ 0.6 ซม. สามารถซ่อมแซมได้ด้วยช่างผู้เชี่ยวชาญ การซ่อมด้วยเข็มเจาะเพียงอย่างเดียวเป็นวิธีที่ไม่น่าเชื่อถือและอันตราย เนื่องจากหลังการรั่วจะต้องตรวจสอบด้านในของยางด้วย นอกจากนั้น อย่าซ่อมยางที่สึกหรอต่ำกว่า 2/32 นิ้ว ของความลึกดอกยางเจอยางบวมให้รีบเปลี่ยน
หากสภาพคล่องไม่ค่อยดี หาร้านยางมือสองหรือยางเปอร์เซ็นต์เปลี่ยนเพียงล้อเดียวก่อนก็ได้ในราคาหลักร้อยบาท และรีบทำการเปลี่ยนยางโดยด่วน หากเกิดใช้ต่อแล้วยางระเบิดขณะวิ่งไม่คุ้มค่ากับความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต