ต่อภาษีรถยนต์

ต่อภาษีรถยนต์68 วันเสาร์-อาทิตย์ที่ไหน การต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สามารถดำเนินการต่อภาษีออนไลน์หรือออฟไลน์ แต่จะทำที่ไหนหรือเข้าเว็บไซต์อะไร…

ต่อภาษีออนไลน์
1. แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ใช้งานง่ายผ่านสมาร์ตโฟน

2. เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
ข้อดีของช่องทางออนไลน์ คือ คุณสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ทั้งวันธรรมดา วันเสาร์ อาทิตย์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังสามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ไปพร้อม ๆ กับการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ DLT’s e-Service โดยมีขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ดังนี้

เตรียมข้อมูลให้พร้อม ทั้งคู่มือรถ เล่มทะเบียนรถ เลขทะเบียนรถ

  • เลือกลงทะเบียนหรือเข้าสู่ระบบได้ที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th.
  • คลิก “ชำระภาษีประจำปี” กรอกข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้อง แล้วเลือก “ยื่นชำระภาษี”
  • จากนั้นเมื่อเข้าสู่หน้ายื่นชำระภาษี ให้กดเลือก “ข้อมูล พ.ร.บ.” กด “ไม่มี (ซื้อผ่านระบบ)” และเลือก “ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่”
  • กรอกข้อมูลรถ ชำระเงิน และรอรับเอกสารพ.ร.บ. รถยนต์ตามที่อยู่จัดส่งที่กรอกไว้
    *คุณสามารถต่ออายุประกันรถยนต์ภาคบังคับอย่างน้อย 90 วันก่อนหมดอายุความคุ้มครอง

ช่องทางการชำระเงิน

  • เคาน์เตอร์ธนาคารที่ร่วมโครงการ : สำหรับผู้ที่ต้องการชำระเงินสด
  • e-Banking : สะดวกสบาย รวดเร็ว ทำรายการได้ทันที
  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต : เหมาะสำหรับคนที่ต้องการแบ่งชำระ หรือสะสมคะแนน
    หมายเหตุ : ไม่ว่าจะเลือกต่อภาษีออนไลน์ช่องทางใด ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติมจากค่าภาษีปกติ

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ กี่วันได้เอกสาร?
สำหรับคนที่จ่ายภาษีออนไลน์ จะได้รับใบเสร็จและป้ายภาษีที่ส่งทางไปรษณีย์ภายใน 10 วัน พร้อมค่าส่งเอกสาร 32 บาท

ต่อภาษีในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ห้างสรรพสินค้า
คุณสามารถไปต่อภาษีที่ห้างได้ ดังนี้

1. ห้างบิ๊กซี 14 สาขา เวลาเปิดทำการ 9.00-17.00 น.
สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่, บางนา, บางปะกอก และบางบอน

*สาขาบางปะกอกและบางบอน ปิด 16.30 น.

2. ห้างเซ็นทรัล
เซ็นทรัล เวสต์เกต เวลาทำการ 10:00-17:30 น.
เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ เวลาทำการ 10:00-17:30 น.
เซ็นทรัล ศาลายา เวลาทำการ 10:00-18:30 น.
เซ็นทรัลเวิลด์ เวลาทำการ 11:00-18:00 น.
3. ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค เวลาทำการ 10.00-17.00 น.
4. ศูนย์การพาราไดซ์ พาร์ค เวลาทำการ 10.00-17.00 น.

ต่อภาษีที่ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) เป็นบริการที่พัฒนาโดยกรมการขนส่งทางบก เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานขนส่ง มีข้อดีคือสามารถรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถทันที

ตู้ Kiosk ตั้งอยู่ที่

  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5
  • กระทรวงคมนาคม
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคมเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
  • ต่อภาษีที่ Counter Service ในร้าน 7-Eleven ทุกสาขา
    คุณสามารถต่อภาษีผ่าน โดยมีเงื่อนไขคือต้องเป็นรถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี หรือมอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 5 ปี, ต้องไม่ขาดภาษีเกิน 1 ปี และสามารถต่อได้ล่วงหน้า 90 วัน

หมายเหตุ : รถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุเกิน 5 ปี ต้องผ่านการตรวจจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.)

จะเห็นได้ว่า การต่อภาษีออนไลน์เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด ไม่ต้องเดินทาง ก็มีเอกสารส่งตรงถึงหน้าบ้าน และสามารถต่อ พ.ร.บ. ไปพร้อม ๆ กันได้เลย

ต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
หนึ่งในประเด็นที่คนมีรถจำเป็นต้องให้ความสำคัญมาก ๆ คือ ต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมให้พร้อม ป้องกันความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหลัก ๆ มีเอกสารที่จำเป็นต้องเตรียมทั้งหมด 4 อย่าง ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนรถ
  • หลักฐานการประกันภัยตาม พ.ร.บ. ที่ยังไม่สิ้นสุด
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี)

รถเก่าได้รับส่วนลดในการต่อภาษีรถยนต์

  • รถยนต์เก่า อายุการใช้งาน 6 ปี ได้รับส่วนลด 10%
  • รถยนต์เก่า อายุการใช้งาน 7 ปี ได้รับส่วนลด 20%
  • รถยนต์เก่า อายุการใช้งาน 8 ปี ได้รับส่วนลด 30%
  • รถยนต์เก่า อายุการใช้งาน 9 ปี ได้รับส่วนลด 40%
  • รถยนต์เก่า อายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป ได้รับส่วนลด 50%

ปี 2568 ค่าต่อภาษีรถยนต์อยู่ที่เท่าไหร่?
อัปเดตล่าสุดสำหรับค่าต่อภาษีรถยนต์ ฉบับปี 2568 ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท และป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนี้

1. รถป้ายทะเบียนขาว ตัวหนังสือดำ
รถยนต์ประเภทที่นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง รถกระบะ ฯลฯ ซึ่งจะคำนวณภาษีจาก ‘ขนาดเครื่องยนต์’ ดังนี้

​​ขนาดเครื่องยนต์ (CC) ภาษีรถยนต์
​1 – 600 ​CC ละ 50 สตางค์
​601 – 1,800 ​CC ละ 1.50 สตางค์
​ตั้งแต่ 1,801 ขึ้นไป ​CC ละ 4 บาท​

2. รถป้ายทะเบียนขาว ตัวหนังสือเขียว
ส่วนใหญ่จะเป็นรถบรรทุกส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเล็กที่มีที่นั่งตั้งแต่ 7 ที่ขึ้นไป โดยคำนวณค่าต่อภาษีรถยนต์จาก ‘น้ำหนักเครื่องยนต์’ ดังนี้

​​น้ำหนักเครื่องยนต์ (กิโลกรัม) ​ภาษีรถยนต์ (บาท)
​50 – 750 กิโลกรัม ​450 บาท
​​751 – 1,000 กิโลกรัม ​​600 บาท
​​1,001 – 1,250 กิโลกรัม ​750 บาท
​1,251 – 1,500 กิโลกรัม ​900 บาท
​1,501 – 1,750 ​​กิโลกรัม 1,050 บาท
​​1,751 – 2,000 ​กิโลกรัม 1,350 บาท
​2,001 – 2,500 ​กิโลกรัม 1,650​ บาท

3. รถป้ายทะเบียนขาว ตัวหนังสือน้ำเงิน

รถยนต์ประเภทที่นั่งส่วนบุคคล ตั้งแต่ 7 ที่นั่งขึ้นไป เช่น รถตู้ รถบ้านหรือรถครอบครัว ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์ประเภทนี้ จะคำนวณจาก ‘น้ำหนักของรถยนต์’ ดังนี้ 

​​น้ำหนัก (กิโลกรัม) ​ภาษีรถยนต์ (บาท)
​น้อยกว่า 1,800 กิโลกรัม ​1,300 บาท
​มากกว่า 1,800 ​กิโลกรัม 1,600​ บาท

เพราะนอกจากจะต่อภาษีรถยนต์ และต่อพ.ร.บ.รถยนต์ วันเสาร์-อาทิตย์ได้แล้ว ยังสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้โดยไม่ต้องหาวันหยุด (ลางาน) ไปดำเนินการแม้แต่น้อย ทั้งนี้การต่อภาษีรถยนต์สามารถ ‘ทำล่วงหน้า’ ก่อนวันสิ้นสุดอายุได้สูงสุด 3 เดือน